คุณคิดว่าความทรงจำของลูกที่มีต่อคุณเมื่อเขาโตขึ้นจะเป็นอย่างไร ถ้าชีวิตแรกเริ่มในขวบแรกของเขานั้น ไม่มีพ่อแม่คอยเลี้ยงดู
ขวบปีแรก…สร้างสายใยแห่งชีวิต
จริง ๆ แล้วในช่วงวัย 0-1 ปี นั้น ถึงแม้ความทรงจำที่ลูกมีต่อพ่อแม่อาจไม่ชัดเจน หรือแทบจะจำไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าจะสูญเปล่านะคะ กลับสะสมและส่งผลเมื่อลูกโตขึ้น จนกลายเป็นความรักผูกพันที่ลูกมีต่อพ่อแม่ เขาจะมีพ่อแม่เป็นที่พึ่ง เป็นที่ยืดเหนี่ยวจิตใจ เวลาที่ลูกจะทำอะไรที่ไม่ถูกไม่ควร เขาจะคิดได้และคิดถึงใจพ่อแม่ก่อนเสมอ เหมือนกับว่าวที่แม้จะขึ้นไปสูงเสียดฟ้าขนาดไหน แต่ก็มีสายใยที่สามารถดึงกลับมาได้ทุกเมื่อค่ะ
6 วิธี สร้างความรักผูกพัน เพื่อสร้างความทรงจำที่ดี
1.พ่อแม่ต้องเลี้ยงลูกเอง
ถ้าเป็นไปได้แม่หรือพ่อหรือทั้งสองคนเลี้ยงลูกเองจะดีที่สุด เพราะมีความรัก ความใกล้ชิด ความผูกพันมาตั้งแต่เริ่มตั้งท้อง สัญชาตญาณความเป็นแม่จะทำให้เรารู้ว่า จะเลี้ยงลูกอย่างไร ลูกต้องการอะไร ลูกมีอะไรที่ผิดปกติ และความรักที่พ่อแม่มีต่อเขาจะทำให้การเลี้ยงดูเต็มไปด้วยความรัก ความเอาใจใส่ แต่ถ้าเป็นคนอื่นที่ไม่ได้มีความรักความผูกพัน อาจจะเลี้ยงลูกให้เราดี แต่ว่าปฏิสัมพันธ์ การพูดคุย การเอาใจใส่นั้นอาจจะไม่เต็มร้อยเหมือนพ่อแม่
การเลี้ยงดูของพ่อแม่นั้นจะทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี ทั้งกายและใจ เพราะได้รับความรักเต็มร้อย ซึ่งความรักเป็นพื้นฐานสำคัญในการเติบโตและเรียนรู้ของเด็ก
2. ทำความรู้จัก
ในช่วงแรก ๆ ที่ลูกคลอดออกมา ถึงแม้เขาจะเป็นลูกของเรา แต่เขาก็ยังไม่รู้จักเรา เราก็ยังไม่รู้จักเขา แม่ต้องเริ่มสังเกต ใส่ใจ เพื่อจะได้รู้ว่าลูกร้องแบบไหน ต้องการอะไร แรกๆ อาจจะยังตอบสนองไม่ค่อยถูกนัก แต่สักพักก็จะรู้ใจกัน ลูกก็จะเริ่มเรียนรู้แม่ แม่ก็จะเริ่มเรียนรู้ลูกปรับตัวเข้าหากันและกัน เริ่มสร้างความรักความผูกพันความคุ้นเคยกันขึ้นมา
เช่น สมมติว่าลูกร้องไห้ แม่จะถามว่ามีอะไรเหรอลูกมาให้แม่ดูหน่อยซิ ระหว่างพูดเด็กก็จะเริ่มเรียนรู้เรื่องของภาษา บางคนไม่ยอมคุยกับทารก เพราะคิดว่าพูดไปแล้ว เด็กไม่เข้าใจ แต่จริงๆ แล้วเด็กจะเริ่มฟังโทนเสียงแล้วจะค่อยๆ เชื่อมโยง เช่น ผู้หญิงคนนี้มาทีไรเรียกตัวเองว่าแม่ทุกที แล้วพูดกับเขาว่า ลูกเป็นอะไร ลูกฉี่เหรอ ฯลฯ เด็กจะเริ่มเชื่อมโยงคำพูดกับสิ่งที่แม่กำลังทำ เป็นการสร้างความคุ้นเคย ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก
3.ตอบสนองว่องไว
กิจวัตรประจำวันของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอน การตื่น อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม การอุ้ม สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องไวต่อการตอบสนองลูกค่ะ ซึ่งถ้าแม่ใกล้ชิดกับลูก แล้วเราช่างสังเกต ก็จะรู้ว่าร้องแบบนี้หิว แต่ไม่ใช่ร้องทุกครั้งต้องหิวนมร้องบางครั้งอาจจะเบื่อ อยากให้แม่มากอด มาเล่นด้วยนิดหนึ่งก็สงบแล้ว คือถ้าเราตอบสนองลูกด้วยดี เขาก็จะไม่หงุดหงิด เพราะเด็กเล็ก ๆ จะสื่อด้วยการร้องไห้ ซึ่งเขาก็จะเรียนรู้ว่าการร้องแบบนี้จะมีคนตอบสนองมากน้อยแค่ไหน
ในช่วง 1 ปีแรก เด็กเกิดมาเพ่อที่จะเรียนรู้โลกใบนี้ มาให้ผู้ใหญ่มาเติมเต็มความต้องการ มาเติมเต็มโลกของเขาก่อน แล้วเขาจึงจะค่อย ๆ กล้าที่จะออกไปเรียนรู้โลกภายนอก ซึ่งในวัยทารก เด็กควรจะได้รับการตอบสนองทุกอย่าง เพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจว่า ทุกเสียงร้องของเขา ทุกท่าทีที่แสดงออกไป มีการตอบสนองมาด้วยท่าที่อบอุ่น ไม่ใช่ว่าพอร้องไห้แล้วเอานมมาให้กินก็จริง แต่กินเองดูดเอง ก็ไม่ได้รับการกระตุ้นสัมผัสอะไรเลย การทำแบบนี้จะสร้างวิธีในการมองโลกมองแบบไม่น่าไว้ใจ แต่ก็ยังพอปรับเปลี่ยนได้ ถ้าพ่อแม่เกิดความเข้าใจ เพียงแต่ในช่วงแรกของชีวิต โดยเฉพาะ 3 ขวบปีแรก เป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องกับการทำงานของสมอง เพราะสมองยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ซึ่งจะสมบูรณ์ได้ก็จากประสบการณ์ที่เจอ เพราะฉะนั้น ถ้าได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งไม่ได้รับประสบการณ์อะไรเลย ก็คือถูกละเลย ถูกทอดทิ้ง ให้นอนอยู่นิ่ง ๆ ถึงเวลาก็เอานมให้กิน ระบบประสาทที่ควรได้รับการกระตุ้นก็จะถูกทำลายไป ทำให้สูญเสียศักยภาพในการเรียนรู้ไปอย่างน่าเสียดายค่ะ
4.พ่อแม่โรงเรียนเสริมพัฒนาการชั้นดี
ไม่จำเป็นเลยค่ะที่จะต้องรีบส่งลูกเข้าโรงเรียนเสริมทักษะ หรือเสริมพัฒนาการตั้งแต่ลูกยังเป็นวัยเบบี้ หรือเตาะแตะ เพราะจริง ๆ แล้วพ่อแม่นั่นล่ะ คือโรงเรียนเสริมพัฒนาการชั้นดีทุกครั้งที่พ่อแม่อยู่กับลูก ก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการลูก การเลี้ยงดูเด็กควรเป็นไปอย่างธรรมชาติ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบตัว ไม่ต้องถึงกับว่ามีของเล่นกระตุ้นแพง ๆ หรือตามกระแสว่าอย่างนั้นดีอย่างนี้ดี เพราะจะทำให้พ่อแม่เหนื่อยที่จะต้องวิ่งตามกระแส แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะดีสำหรับลูกเรา เราอาจตกเป็นเหยื่อของการตลาดก็ได้ค่ะ ต้องลองคิดว่าเมื่อก่อนไม่เห็นต้องมีของเล่นมากมาย ลูกก็ยังเติบโตมีพัฒนาการที่ดี มีพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรมที่ดีได้เลย การเลี้ยงลูกไม่ใช่การหวือหวาตามเทรนด์ แต่เป็นการใช้สัญชาติญาณความเป็นพ่อและแม่
การเสริมพัฒนาการแท้จริงแล้วคือการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งไม่ต้องใช้อุปกรณ์ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น
ตา เพียงแค่ มองหน้า สบตาลูก สายตาที่อ่อนโยนเปี่ยมไปด้วยความรัก ลูกรับรู้ได้นะคะ และเวลาที่ลูกมองตาเรา จะได้ฝึกพัฒนาการการมองไปด้วย เขาจะเริ่มโฟกัสสายตาได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
หู เรากระตุ้นได้ด้วยการพูดคุยกับลูก ร้องเพลงกล่อมเพลงซ้ำ ๆ ที่เขาจะคุ้นเคย มั่นคง รู้สึกมันคุ้น ปลอดภัย ไม่ใช่ว่ามีเสียงที่ดัง ๆ โครมคราม เสียงจากทีวี แต่ควรเป็นเสียงแม่ร้องเพลง คุยกับลูก
ลิ้น คือการรับรส ยิ่งถ้าได้อาหารชั้นดีอย่างนมแม่ด้วยแล้ว ก็จะได้กระตุ้นพัฒนาการทุกอย่าง ได้สบตา ได้กอดสัมผัสได้ยินเสียงแม่คุย ได้รับรส
กลิ่น เวลาที่พ่อแม่เลี้ยงดูหรือเล่นด้วย ลูกก็ได้กลิ่นตัวของแม่และพ่อ
นอกจากนี้การเล่นกับลูก แค่เพียงเขี่ยเท้า กระตุ้น ลูบหน้าก็สร้างความผูกพันได้แล้วคะ ยิ่งถ้าได้แม่หรือพ่อที่รักเขา ช่วยกระตุ้นพัฒนาการที่ด้วยตัวเองแล้ว เด็กจะเรียนรู้ได้ดี เพราะเขามีความมั่นคงทางจิตใจ เขาได้อยู่ใกล้คนที่รัก สมองลูกก็จะเปิดกว้างเพื่อที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ
5.ขอเวลาส่วนตัว
ไม่ว่าใครก็คงต้องการเวลาส่วนตัวค่ะ เด็กวัย 0-1 ปี ก็ต้องการเช่นกัน การกระตุ้นพัฒนาการด้วยการพูดคุย สัมผัสเล่น ตอบสนองเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับลูก แต่ไม่ต้องทำหรือกระตุ้นตลอดเวลา เพราะลูกจะแอคทีฟเกินไป พ่อแม่ต้องปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้นอนเล่น นั่งเล่นคนเดียวเพลิน ๆ บ้าง เพราะลูกเองก็ต้องการความสงบ ต้องการอยู่กับตัวเอง โดยพ่อแม่ดูแลเขาให้อยู่ในสายตาเท่านั้น
พ่อแม่เองก็ต้องมีเวลาส่วนตัวเช่นกัน การอยู่กับลูกตลอดเวลาอาจทำให้รู้สึกเครียด กดดัน ไม่เป็นธรรมชาติ ยิ่งถ้าบางคนลูกเป็นเด็กเลี้ยงยาก ก็จะยิ่งรู้สึกเครียดได้ง่าย เพราะฉะนั้นคุณควรแบ่งเวลาให้ตัวเองด้วย ไม่ต้องรู้สึกผิด มีเวลาพักผ่อนบ้าง หาคนมาช่วยเลี้ยงลูกบ้าง อาจจะเป็นญาติสนิทคนที่ไว้ใจได้ เพื่อที่คุณจะได้มีเวลาส่วนตัว และเมื่อคุณไม่กดดัน เป็นแม่พ่อที่มีความสุขแล้วล่ะก็ เวลาที่คุณต้องรับมือหรือเลี้ยงเจ้าตัวเล็ก ความสุขของคุณก็ส่งไปถึงลูกด้วยค่ะ
6.เวลาคุณภาพ
ถ้าเป็นไปได้ใคร ๆ ก็คงอยากจะเลี้ยงลูกเอง แต่ถ้าไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ก็ไม่เป็นไรค่ะ เพียงแต่ว่าต้องสร้างเวลาคุณภาพ โดยเฉพาะกับพ่อที่มักจะทำงานนอกบ้าน อย่าคิดว่าลูกยังเล็กคงไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก เพราะจริง ๆ แล้วแค่มีเวลาให้ลูกอย่างเต็มที่แค่วันละครึ่งชั่วโมง พูดคุย หยอกล้อ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ พาเขาอาบน้ำบ้าง ช่วยดูแลลูกตอนที่คุณแม่ยุ่ง ๆ แค่นี้เจ้าตัวน้อยก็ได้เวลาคุณภาพจากคุณพ่อแล้วค่ะ ที่สำคัญ เวลาครึ่งชั่วโมงต้องสม่ำเสมอในทุก ๆ วันด้วยนะคะ เพราะไม่อย่างนั้น เด็กก็ไม่สามารถที่จะจำได้ ก็จะกลายเป็นคนแปลกหน้ากันไป
ถ้าพ่อและแม่มีโอกาสใกล้ชิดตั้งแต่ยังเล็ก ลูกจะได้เรียนรู้บทบาทของพ่อและแม่ในรูปแบบของการเล่นที่แตกต่างกัน เพราะพ่อกับแม่เล่นไม่เหมือนกันค่ะ ลูกจะเริ่มเรียนรู้ว่า พ่อเล่นแบบไหน แม่เล่นแบบไหน ซึ่งการเล่นที่ต่างกันของพ่อและแม่นี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างความรักความผูกพัน และเมื่อเขาโตขึ้นก็จะเริ่มเลียนแบบบทบาททางเพศของพ่อและแม่ค่ะ
ถ้าพลาดการเติมเต็มช่วงขวบปีแรก
การพลาดในที่นี้คือ การที่เด็กน้อยไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการ ไม่มีใครเล่นด้วย ไม่มีใครคุยด้วย ไม่มีคนที่เด็กรู้สึกไว้วางใจ ซึ่งก็อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนพี่เลี้ยงบ่อย หรือเอาเด็กไปปากไว้กับคนนั้นที่คนนี้ที ทำให้เด็กเติบโตมาเป็นคนไม่มีความรักในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองมีช่องว่างอยู่ในใจ ซึ่งบางครั้งเด็กเองอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาขาดอะไร ซึ่งจริง ๆ ก็คือขาดความรัก ความเอาใจใส่ความเข้าใจจากคนที่ควรจะให้เขา
และจะส่งผลให้เด็กไปค้นหามาเติมเองเมื่อโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความรักจากคนอื่น อาจจะเป็นคนที่มีความรักมาก แต่เป็นความรักที่ไม่แน่นแฟ้น อาจจะเปลี่ยนคู่ครองเยอะ เพื่อใช้ความรู้สึกตรงนี้มาเติมความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า มีคนมารักเยอะ หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นวัตถุ ต้องมีเงินเยอะๆ เพื่อให้เกิดความมั่นคงว่าตัวเองมีค่า จะทำวิธีไหนก็ได้ขอให้มีเงิน ไม่สนใจวิธีการที่ได้มา เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเติมโม่เต็ม ทำให้เขาไม่วางใจใครเลย นอกจากตัวเอง
เลี้ยงลูกวัยขวบแรกด้วยหลัก 6 ข้อนี้จะช่วยสร้างความรักความผูกพัน และสร้างความทรงจำที่ดีของลูกต่อพ่อแม่ในอนาคต เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าของพ่อแม่ค่ะ
ขอบคุณ
kapook.com
คุณคิดว่าความทรงจำของลูกที่มีต่อคุณเมื่อเขาโตขึ้นจะเป็นอย่างไร ถ้าชีวิตแรกเริ่มในขวบแรกของเขานั้น ไม่มีพ่อแม่คอยเลี้ยงดู
ขวบปีแรก…สร้างสายใยแห่งชีวิต
จริง ๆ แล้วในช่วงวัย 0-1 ปี นั้น ถึงแม้ความทรงจำที่ลูกมีต่อพ่อแม่อาจไม่ชัดเจน หรือแทบจะจำไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าจะสูญเปล่านะคะ กลับสะสมและส่งผลเมื่อลูกโตขึ้น จนกลายเป็นความรักผูกพันที่ลูกมีต่อพ่อแม่ เขาจะมีพ่อแม่เป็นที่พึ่ง เป็นที่ยืดเหนี่ยวจิตใจ เวลาที่ลูกจะทำอะไรที่ไม่ถูกไม่ควร เขาจะคิดได้และคิดถึงใจพ่อแม่ก่อนเสมอ เหมือนกับว่าวที่แม้จะขึ้นไปสูงเสียดฟ้าขนาดไหน แต่ก็มีสายใยที่สามารถดึงกลับมาได้ทุกเมื่อค่ะ
6 วิธี สร้างความรักผูกพัน เพื่อสร้างความทรงจำที่ดี
1.พ่อแม่ต้องเลี้ยงลูกเอง
ถ้าเป็นไปได้แม่หรือพ่อหรือทั้งสองคนเลี้ยงลูกเองจะดีที่สุด เพราะมีความรัก ความใกล้ชิด ความผูกพันมาตั้งแต่เริ่มตั้งท้อง สัญชาตญาณความเป็นแม่จะทำให้เรารู้ว่า จะเลี้ยงลูกอย่างไร ลูกต้องการอะไร ลูกมีอะไรที่ผิดปกติ และความรักที่พ่อแม่มีต่อเขาจะทำให้การเลี้ยงดูเต็มไปด้วยความรัก ความเอาใจใส่ แต่ถ้าเป็นคนอื่นที่ไม่ได้มีความรักความผูกพัน อาจจะเลี้ยงลูกให้เราดี แต่ว่าปฏิสัมพันธ์ การพูดคุย การเอาใจใส่นั้นอาจจะไม่เต็มร้อยเหมือนพ่อแม่
การเลี้ยงดูของพ่อแม่นั้นจะทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี ทั้งกายและใจ เพราะได้รับความรักเต็มร้อย ซึ่งความรักเป็นพื้นฐานสำคัญในการเติบโตและเรียนรู้ของเด็ก
2. ทำความรู้จัก
ในช่วงแรก ๆ ที่ลูกคลอดออกมา ถึงแม้เขาจะเป็นลูกของเรา แต่เขาก็ยังไม่รู้จักเรา เราก็ยังไม่รู้จักเขา แม่ต้องเริ่มสังเกต ใส่ใจ เพื่อจะได้รู้ว่าลูกร้องแบบไหน ต้องการอะไร แรกๆ อาจจะยังตอบสนองไม่ค่อยถูกนัก แต่สักพักก็จะรู้ใจกัน ลูกก็จะเริ่มเรียนรู้แม่ แม่ก็จะเริ่มเรียนรู้ลูกปรับตัวเข้าหากันและกัน เริ่มสร้างความรักความผูกพันความคุ้นเคยกันขึ้นมา
เช่น สมมติว่าลูกร้องไห้ แม่จะถามว่ามีอะไรเหรอลูกมาให้แม่ดูหน่อยซิ ระหว่างพูดเด็กก็จะเริ่มเรียนรู้เรื่องของภาษา บางคนไม่ยอมคุยกับทารก เพราะคิดว่าพูดไปแล้ว เด็กไม่เข้าใจ แต่จริงๆ แล้วเด็กจะเริ่มฟังโทนเสียงแล้วจะค่อยๆ เชื่อมโยง เช่น ผู้หญิงคนนี้มาทีไรเรียกตัวเองว่าแม่ทุกที แล้วพูดกับเขาว่า ลูกเป็นอะไร ลูกฉี่เหรอ ฯลฯ เด็กจะเริ่มเชื่อมโยงคำพูดกับสิ่งที่แม่กำลังทำ เป็นการสร้างความคุ้นเคย ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก
3.ตอบสนองว่องไว
กิจวัตรประจำวันของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอน การตื่น อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม การอุ้ม สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องไวต่อการตอบสนองลูกค่ะ ซึ่งถ้าแม่ใกล้ชิดกับลูก แล้วเราช่างสังเกต ก็จะรู้ว่าร้องแบบนี้หิว แต่ไม่ใช่ร้องทุกครั้งต้องหิวนมร้องบางครั้งอาจจะเบื่อ อยากให้แม่มากอด มาเล่นด้วยนิดหนึ่งก็สงบแล้ว คือถ้าเราตอบสนองลูกด้วยดี เขาก็จะไม่หงุดหงิด เพราะเด็กเล็ก ๆ จะสื่อด้วยการร้องไห้ ซึ่งเขาก็จะเรียนรู้ว่าการร้องแบบนี้จะมีคนตอบสนองมากน้อยแค่ไหน
ในช่วง 1 ปีแรก เด็กเกิดมาเพ่อที่จะเรียนรู้โลกใบนี้ มาให้ผู้ใหญ่มาเติมเต็มความต้องการ มาเติมเต็มโลกของเขาก่อน แล้วเขาจึงจะค่อย ๆ กล้าที่จะออกไปเรียนรู้โลกภายนอก ซึ่งในวัยทารก เด็กควรจะได้รับการตอบสนองทุกอย่าง เพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจว่า ทุกเสียงร้องของเขา ทุกท่าทีที่แสดงออกไป มีการตอบสนองมาด้วยท่าที่อบอุ่น ไม่ใช่ว่าพอร้องไห้แล้วเอานมมาให้กินก็จริง แต่กินเองดูดเอง ก็ไม่ได้รับการกระตุ้นสัมผัสอะไรเลย การทำแบบนี้จะสร้างวิธีในการมองโลกมองแบบไม่น่าไว้ใจ แต่ก็ยังพอปรับเปลี่ยนได้ ถ้าพ่อแม่เกิดความเข้าใจ เพียงแต่ในช่วงแรกของชีวิต โดยเฉพาะ 3 ขวบปีแรก เป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องกับการทำงานของสมอง เพราะสมองยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ซึ่งจะสมบูรณ์ได้ก็จากประสบการณ์ที่เจอ เพราะฉะนั้น ถ้าได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งไม่ได้รับประสบการณ์อะไรเลย ก็คือถูกละเลย ถูกทอดทิ้ง ให้นอนอยู่นิ่ง ๆ ถึงเวลาก็เอานมให้กิน ระบบประสาทที่ควรได้รับการกระตุ้นก็จะถูกทำลายไป ทำให้สูญเสียศักยภาพในการเรียนรู้ไปอย่างน่าเสียดายค่ะ
4.พ่อแม่โรงเรียนเสริมพัฒนาการชั้นดี
ไม่จำเป็นเลยค่ะที่จะต้องรีบส่งลูกเข้าโรงเรียนเสริมทักษะ หรือเสริมพัฒนาการตั้งแต่ลูกยังเป็นวัยเบบี้ หรือเตาะแตะ เพราะจริง ๆ แล้วพ่อแม่นั่นล่ะ คือโรงเรียนเสริมพัฒนาการชั้นดีทุกครั้งที่พ่อแม่อยู่กับลูก ก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการลูก การเลี้ยงดูเด็กควรเป็นไปอย่างธรรมชาติ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบตัว ไม่ต้องถึงกับว่ามีของเล่นกระตุ้นแพง ๆ หรือตามกระแสว่าอย่างนั้นดีอย่างนี้ดี เพราะจะทำให้พ่อแม่เหนื่อยที่จะต้องวิ่งตามกระแส แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะดีสำหรับลูกเรา เราอาจตกเป็นเหยื่อของการตลาดก็ได้ค่ะ ต้องลองคิดว่าเมื่อก่อนไม่เห็นต้องมีของเล่นมากมาย ลูกก็ยังเติบโตมีพัฒนาการที่ดี มีพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรมที่ดีได้เลย การเลี้ยงลูกไม่ใช่การหวือหวาตามเทรนด์ แต่เป็นการใช้สัญชาติญาณความเป็นพ่อและแม่
การเสริมพัฒนาการแท้จริงแล้วคือการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ซึ่งไม่ต้องใช้อุปกรณ์ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น
ตา เพียงแค่ มองหน้า สบตาลูก สายตาที่อ่อนโยนเปี่ยมไปด้วยความรัก ลูกรับรู้ได้นะคะ และเวลาที่ลูกมองตาเรา จะได้ฝึกพัฒนาการการมองไปด้วย เขาจะเริ่มโฟกัสสายตาได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
หู เรากระตุ้นได้ด้วยการพูดคุยกับลูก ร้องเพลงกล่อมเพลงซ้ำ ๆ ที่เขาจะคุ้นเคย มั่นคง รู้สึกมันคุ้น ปลอดภัย ไม่ใช่ว่ามีเสียงที่ดัง ๆ โครมคราม เสียงจากทีวี แต่ควรเป็นเสียงแม่ร้องเพลง คุยกับลูก
ลิ้น คือการรับรส ยิ่งถ้าได้อาหารชั้นดีอย่างนมแม่ด้วยแล้ว ก็จะได้กระตุ้นพัฒนาการทุกอย่าง ได้สบตา ได้กอดสัมผัสได้ยินเสียงแม่คุย ได้รับรส
กลิ่น เวลาที่พ่อแม่เลี้ยงดูหรือเล่นด้วย ลูกก็ได้กลิ่นตัวของแม่และพ่อ
นอกจากนี้การเล่นกับลูก แค่เพียงเขี่ยเท้า กระตุ้น ลูบหน้าก็สร้างความผูกพันได้แล้วคะ ยิ่งถ้าได้แม่หรือพ่อที่รักเขา ช่วยกระตุ้นพัฒนาการที่ด้วยตัวเองแล้ว เด็กจะเรียนรู้ได้ดี เพราะเขามีความมั่นคงทางจิตใจ เขาได้อยู่ใกล้คนที่รัก สมองลูกก็จะเปิดกว้างเพื่อที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ
5.ขอเวลาส่วนตัว
ไม่ว่าใครก็คงต้องการเวลาส่วนตัวค่ะ เด็กวัย 0-1 ปี ก็ต้องการเช่นกัน การกระตุ้นพัฒนาการด้วยการพูดคุย สัมผัสเล่น ตอบสนองเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับลูก แต่ไม่ต้องทำหรือกระตุ้นตลอดเวลา เพราะลูกจะแอคทีฟเกินไป พ่อแม่ต้องปล่อยให้เจ้าตัวน้อยได้นอนเล่น นั่งเล่นคนเดียวเพลิน ๆ บ้าง เพราะลูกเองก็ต้องการความสงบ ต้องการอยู่กับตัวเอง โดยพ่อแม่ดูแลเขาให้อยู่ในสายตาเท่านั้น
พ่อแม่เองก็ต้องมีเวลาส่วนตัวเช่นกัน การอยู่กับลูกตลอดเวลาอาจทำให้รู้สึกเครียด กดดัน ไม่เป็นธรรมชาติ ยิ่งถ้าบางคนลูกเป็นเด็กเลี้ยงยาก ก็จะยิ่งรู้สึกเครียดได้ง่าย เพราะฉะนั้นคุณควรแบ่งเวลาให้ตัวเองด้วย ไม่ต้องรู้สึกผิด มีเวลาพักผ่อนบ้าง หาคนมาช่วยเลี้ยงลูกบ้าง อาจจะเป็นญาติสนิทคนที่ไว้ใจได้ เพื่อที่คุณจะได้มีเวลาส่วนตัว และเมื่อคุณไม่กดดัน เป็นแม่พ่อที่มีความสุขแล้วล่ะก็ เวลาที่คุณต้องรับมือหรือเลี้ยงเจ้าตัวเล็ก ความสุขของคุณก็ส่งไปถึงลูกด้วยค่ะ
6.เวลาคุณภาพ
ถ้าเป็นไปได้ใคร ๆ ก็คงอยากจะเลี้ยงลูกเอง แต่ถ้าไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ก็ไม่เป็นไรค่ะ เพียงแต่ว่าต้องสร้างเวลาคุณภาพ โดยเฉพาะกับพ่อที่มักจะทำงานนอกบ้าน อย่าคิดว่าลูกยังเล็กคงไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก เพราะจริง ๆ แล้วแค่มีเวลาให้ลูกอย่างเต็มที่แค่วันละครึ่งชั่วโมง พูดคุย หยอกล้อ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ พาเขาอาบน้ำบ้าง ช่วยดูแลลูกตอนที่คุณแม่ยุ่ง ๆ แค่นี้เจ้าตัวน้อยก็ได้เวลาคุณภาพจากคุณพ่อแล้วค่ะ ที่สำคัญ เวลาครึ่งชั่วโมงต้องสม่ำเสมอในทุก ๆ วันด้วยนะคะ เพราะไม่อย่างนั้น เด็กก็ไม่สามารถที่จะจำได้ ก็จะกลายเป็นคนแปลกหน้ากันไป
ถ้าพ่อและแม่มีโอกาสใกล้ชิดตั้งแต่ยังเล็ก ลูกจะได้เรียนรู้บทบาทของพ่อและแม่ในรูปแบบของการเล่นที่แตกต่างกัน เพราะพ่อกับแม่เล่นไม่เหมือนกันค่ะ ลูกจะเริ่มเรียนรู้ว่า พ่อเล่นแบบไหน แม่เล่นแบบไหน ซึ่งการเล่นที่ต่างกันของพ่อและแม่นี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างความรักความผูกพัน และเมื่อเขาโตขึ้นก็จะเริ่มเลียนแบบบทบาททางเพศของพ่อและแม่ค่ะ
ถ้าพลาดการเติมเต็มช่วงขวบปีแรก
การพลาดในที่นี้คือ การที่เด็กน้อยไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการ ไม่มีใครเล่นด้วย ไม่มีใครคุยด้วย ไม่มีคนที่เด็กรู้สึกไว้วางใจ ซึ่งก็อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนพี่เลี้ยงบ่อย หรือเอาเด็กไปปากไว้กับคนนั้นที่คนนี้ที ทำให้เด็กเติบโตมาเป็นคนไม่มีความรักในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองมีช่องว่างอยู่ในใจ ซึ่งบางครั้งเด็กเองอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาขาดอะไร ซึ่งจริง ๆ ก็คือขาดความรัก ความเอาใจใส่ความเข้าใจจากคนที่ควรจะให้เขา
และจะส่งผลให้เด็กไปค้นหามาเติมเองเมื่อโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความรักจากคนอื่น อาจจะเป็นคนที่มีความรักมาก แต่เป็นความรักที่ไม่แน่นแฟ้น อาจจะเปลี่ยนคู่ครองเยอะ เพื่อใช้ความรู้สึกตรงนี้มาเติมความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า มีคนมารักเยอะ หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นวัตถุ ต้องมีเงินเยอะๆ เพื่อให้เกิดความมั่นคงว่าตัวเองมีค่า จะทำวิธีไหนก็ได้ขอให้มีเงิน ไม่สนใจวิธีการที่ได้มา เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเติมโม่เต็ม ทำให้เขาไม่วางใจใครเลย นอกจากตัวเอง
เลี้ยงลูกวัยขวบแรกด้วยหลัก 6 ข้อนี้จะช่วยสร้างความรักความผูกพัน และสร้างความทรงจำที่ดีของลูกต่อพ่อแม่ในอนาคต เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าของพ่อแม่ค่ะ
ขอบคุณ
kapook.com
No comments:
Post a Comment