Hi quest ,  welcome  |  sign in  |  registered now  |  need help ?
Hi, guest ! welcome to BREAK NEWS ONLINE. | About Us | Contact | Register | Sign In

ปวดคอ วิธีแก้ปวดคอ

Written By 092505589 on Wednesday, June 29, 2011 | 2:39 AM

[postlink]http://breaknewsonline.blogspot.com/2011/06/blog-post_2386.html[/postlink]

50521 300x225 ปวดคอ วิธีแก้ปวดคอ


ข้ออ้างของคนที่ไม่ค่อยชอบดูแลตัวเอง ทั้งเรื่องการ ออกกำลังกาย เรื่อยไปจนถึงการกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ คือ 1. ไม่มีเวลา 2. ขี้เกียจ แล้วถ้าวันหนึ่งร่างกายเราบอกว่า ไม่มีเวลาทำงานให้ มีประสิทธิภาพ แถมระบบก็ขี้เกียจซ่อมแซมส่วนต่างๆ บ้างล่ะ?


อาการปวดคอ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย (เกือบจะมากที่สุด) ในชีวิตประจำวันของคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากกิจกรรมมากมายต้องทำในท่านั่ง คอจึงต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักจากศีรษะตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังเป็นอวัยวะที่สามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะก้ม เงย เอียง และหมุน ปัจจัยดังกล่าวทำให้พบปัญหาปวดคอได้ถึง 50% ในช่วงชีวิตหนึ่ง


health ปวดคอ วิธีแก้ปวดคอ


สาเหตุของอาการปวดคอ


1. ลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง : พบได้ทุกเพศทุกวัย มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อแถวคอและสะบักในด้านที่ใช้งานบ่อยๆ


นั่งทำงานด้วยโต๊ะและเก้าอี้ที่ไม่ได้ระดับสัมพันธ์กับสรีระร่างกาย


เอียงคอคุยโทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำงาน / เล่นคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอนคว่ำหน้าเป็นประจำ หรือเงยคอทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นต้น


2. ภาวะข้อเสื่อม / ข้ออักเสบ : อาการข้อเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกและข้อต่อจะมีหินปูนมาพอกหรือมีโรคข้อบางชนิด เช่น รูมาตอยด์ ก็อาจทำให้ปวดคอได้เช่นกัน


3. ภาวะเครียดทางจิตใจ : ทั้งจากหน้าที่การงาน ปัญหาเศรษฐกิจ ครอบครัว การพักผ่อนไม่เพียงพอ ฯลฯ สาเหตุดังกล่าวจะทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็งนานผิดปกติ จึงมีอาการปวดคอและศีรษะบริเวณท้ายทอยได้


4. อุบัติเหตุบริเวณคอ : ภาวะ ดังกล่าวทำให้คอต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดอย่างมากจนเกิดอาการฉีกขาด เกิดอาการปวด และกล้ามเนื้อหดเกร็งจนเคลื่อนไหวไม่ถนัด หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุรุนแรง อาจมีกระดูกคอหักหรือเคลื่อนที่ได้


5. สาเหตุอื่นๆ : เช่น กระดูกคอผิดปกติแต่กำเนิด สายตาผิดปกติ


อาการ
ปวดตึงหรือตื้อบริเวณคอ อาจร้าวมาที่บ่า สะบัก หรือแขน ในบางรายอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมกับอาการชา เคลื่อนไหวคอได้น้อยลง


การรักษา
เมื่อมีอาการปวดคอควรหยุดพัก ประคบคอด้วยความร้อนหรือความเย็นประมาณ 15-20 นาที ใช้เครื่องพยุงคอหรือผ้าขนหนูม้วนที่หนา และยาวพอเพื่อรับน้ำหนัก พันรอบคอไว้จะได้จำกัดการเคลื่อนไหว และลดแรงกดจากน้ำหนักของศีรษะ อาจกินยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน แต่ถ้ากินยา 5-7 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์


อย่างไรก็ตาม การบริหารกล้ามเนื้อคอเป็นส่วนสำคัญที่สุดใน การรักษาอาการปวดคอ เพราะจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้โอกาสที่จะปวดคอในครั้งต่อไปลดลง


การป้องกันการปวดคอ
จัดท่าในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม เช่น ไม่นอนคว่ำเป็นประจำ ระวังและหลีกเลี่ยงอิริยาบถและท่าทางที่ต้องมีการก้ม และเงยคอบ่อยๆ


ท่านอน ไม่ควรหนุนหมอนที่แข็งหรือนุ่มเกินไป ควรใช้หมอนรองที่ใต้ต้นคอให้ใบหน้าขนานกับเตียงพอดี


ท่าทางการทำงาน จัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้ได้ระดับสัมพันธ์กับสรีระร่างกาย โดยให้หลังพิงพนักเก้าอี้กรณีใช้คอมพิวเตอร์ให้ปรับจอภาพให้อยู่ในระดับสาย ตา แขนแนบลำตัวและควรวางบนที่วางแขน ระดับเข่าต่ำกว่าระดับสะโพกเล็กน้อย ควรปรับท่าทางบ่อยๆ เน้นให้แนวกระดูกสันหลังให้อยู่ในระดับแนวตรงตลอด


การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น : ทำหลังจากการประคบอุ่น เนื่องจากความร้อนจะช่วยให้เนื้อเยื่อต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดได้ด้วย


ท่าที่ 1 ใช้มือซ้ายจับบริเวณศีรษะเหนือหูด้านขวา ดึงศีรษะไปทางซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณคอและบ่า นับค้าง 1-10 ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง สลับทางด้านขวา


ท่าที่ 2 ใช้มือซ้ายจับมือขวาแล้วดึงลง พร้อมเอียงศีรษะไปทางซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณคอ และบ่า นับค้าง 1-10 ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง ทำสลับซ้ายขวา


ท่าที่ 3 ใช้มือขวาจับข้อศอกซ้ายแล้วดึงข้ามลำตัว พร้อมกับหันศีรษะไปทางซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณคอและบ่า นับค้าง 1-10 ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง ทำสลับซ้ายขวา


การบริหารกล้ามเนื้อคอเพื่อสร้างความแข็งแรง : ควรเริ่มทำเมื่ออาการปวดคอลดลง โดยเกร็งกล้ามเนื้อคอต้านแรงมือ ขณะทำคออยู่ในท่าตรงตลอดเวลา นับ 1-10 ทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ


ท่าที่ 1 ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางวางที่หน้าผากพร้อมออกแรงกดไปทางด้านหลัง เกร็งศีรษะต้านแรงไว้ ขณะออกกำลังให้คออยู่ในท่าตรง


ท่าที่ 2 ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางวางที่ท้ายทอยพร้อมออกแรงกดไปทางด้านหน้า เกร็งศีรษะต้านแรงไว้ ขณะออกกำลังให้คออยู่ในท่าตรง


ท่าที่ 3 ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางด้านขวาวางบริเวณขมับ พร้อมออกแรงกดไปทางด้านซ้าย เกร็งศีรษะต้านแรงไว้ ขณะออกกำลังให้คออยู่ในท่าตรง ทำสลับกับทางด้านซ้าย


ขอบคุณ


sanook.com

50521 300x225 ปวดคอ วิธีแก้ปวดคอ


ข้ออ้างของคนที่ไม่ค่อยชอบดูแลตัวเอง ทั้งเรื่องการ ออกกำลังกาย เรื่อยไปจนถึงการกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ คือ 1. ไม่มีเวลา 2. ขี้เกียจ แล้วถ้าวันหนึ่งร่างกายเราบอกว่า ไม่มีเวลาทำงานให้ มีประสิทธิภาพ แถมระบบก็ขี้เกียจซ่อมแซมส่วนต่างๆ บ้างล่ะ?


อาการปวดคอ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย (เกือบจะมากที่สุด) ในชีวิตประจำวันของคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากกิจกรรมมากมายต้องทำในท่านั่ง คอจึงต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักจากศีรษะตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังเป็นอวัยวะที่สามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะก้ม เงย เอียง และหมุน ปัจจัยดังกล่าวทำให้พบปัญหาปวดคอได้ถึง 50% ในช่วงชีวิตหนึ่ง


health ปวดคอ วิธีแก้ปวดคอ


สาเหตุของอาการปวดคอ


1. ลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง : พบได้ทุกเพศทุกวัย มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อแถวคอและสะบักในด้านที่ใช้งานบ่อยๆ


นั่งทำงานด้วยโต๊ะและเก้าอี้ที่ไม่ได้ระดับสัมพันธ์กับสรีระร่างกาย


เอียงคอคุยโทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำงาน / เล่นคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอนคว่ำหน้าเป็นประจำ หรือเงยคอทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นต้น


2. ภาวะข้อเสื่อม / ข้ออักเสบ : อาการข้อเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกและข้อต่อจะมีหินปูนมาพอกหรือมีโรคข้อบางชนิด เช่น รูมาตอยด์ ก็อาจทำให้ปวดคอได้เช่นกัน


3. ภาวะเครียดทางจิตใจ : ทั้งจากหน้าที่การงาน ปัญหาเศรษฐกิจ ครอบครัว การพักผ่อนไม่เพียงพอ ฯลฯ สาเหตุดังกล่าวจะทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็งนานผิดปกติ จึงมีอาการปวดคอและศีรษะบริเวณท้ายทอยได้


4. อุบัติเหตุบริเวณคอ : ภาวะ ดังกล่าวทำให้คอต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดอย่างมากจนเกิดอาการฉีกขาด เกิดอาการปวด และกล้ามเนื้อหดเกร็งจนเคลื่อนไหวไม่ถนัด หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุรุนแรง อาจมีกระดูกคอหักหรือเคลื่อนที่ได้


5. สาเหตุอื่นๆ : เช่น กระดูกคอผิดปกติแต่กำเนิด สายตาผิดปกติ


อาการ
ปวดตึงหรือตื้อบริเวณคอ อาจร้าวมาที่บ่า สะบัก หรือแขน ในบางรายอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมกับอาการชา เคลื่อนไหวคอได้น้อยลง


การรักษา
เมื่อมีอาการปวดคอควรหยุดพัก ประคบคอด้วยความร้อนหรือความเย็นประมาณ 15-20 นาที ใช้เครื่องพยุงคอหรือผ้าขนหนูม้วนที่หนา และยาวพอเพื่อรับน้ำหนัก พันรอบคอไว้จะได้จำกัดการเคลื่อนไหว และลดแรงกดจากน้ำหนักของศีรษะ อาจกินยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน แต่ถ้ากินยา 5-7 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์


อย่างไรก็ตาม การบริหารกล้ามเนื้อคอเป็นส่วนสำคัญที่สุดใน การรักษาอาการปวดคอ เพราะจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้โอกาสที่จะปวดคอในครั้งต่อไปลดลง


การป้องกันการปวดคอ
จัดท่าในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม เช่น ไม่นอนคว่ำเป็นประจำ ระวังและหลีกเลี่ยงอิริยาบถและท่าทางที่ต้องมีการก้ม และเงยคอบ่อยๆ


ท่านอน ไม่ควรหนุนหมอนที่แข็งหรือนุ่มเกินไป ควรใช้หมอนรองที่ใต้ต้นคอให้ใบหน้าขนานกับเตียงพอดี


ท่าทางการทำงาน จัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้ให้ได้ระดับสัมพันธ์กับสรีระร่างกาย โดยให้หลังพิงพนักเก้าอี้กรณีใช้คอมพิวเตอร์ให้ปรับจอภาพให้อยู่ในระดับสาย ตา แขนแนบลำตัวและควรวางบนที่วางแขน ระดับเข่าต่ำกว่าระดับสะโพกเล็กน้อย ควรปรับท่าทางบ่อยๆ เน้นให้แนวกระดูกสันหลังให้อยู่ในระดับแนวตรงตลอด


การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น : ทำหลังจากการประคบอุ่น เนื่องจากความร้อนจะช่วยให้เนื้อเยื่อต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น และบรรเทาอาการปวดได้ด้วย


ท่าที่ 1 ใช้มือซ้ายจับบริเวณศีรษะเหนือหูด้านขวา ดึงศีรษะไปทางซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณคอและบ่า นับค้าง 1-10 ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง สลับทางด้านขวา


ท่าที่ 2 ใช้มือซ้ายจับมือขวาแล้วดึงลง พร้อมเอียงศีรษะไปทางซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณคอ และบ่า นับค้าง 1-10 ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง ทำสลับซ้ายขวา


ท่าที่ 3 ใช้มือขวาจับข้อศอกซ้ายแล้วดึงข้ามลำตัว พร้อมกับหันศีรษะไปทางซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณคอและบ่า นับค้าง 1-10 ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง ทำสลับซ้ายขวา


การบริหารกล้ามเนื้อคอเพื่อสร้างความแข็งแรง : ควรเริ่มทำเมื่ออาการปวดคอลดลง โดยเกร็งกล้ามเนื้อคอต้านแรงมือ ขณะทำคออยู่ในท่าตรงตลอดเวลา นับ 1-10 ทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ


ท่าที่ 1 ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางวางที่หน้าผากพร้อมออกแรงกดไปทางด้านหลัง เกร็งศีรษะต้านแรงไว้ ขณะออกกำลังให้คออยู่ในท่าตรง


ท่าที่ 2 ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางวางที่ท้ายทอยพร้อมออกแรงกดไปทางด้านหน้า เกร็งศีรษะต้านแรงไว้ ขณะออกกำลังให้คออยู่ในท่าตรง


ท่าที่ 3 ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางด้านขวาวางบริเวณขมับ พร้อมออกแรงกดไปทางด้านซ้าย เกร็งศีรษะต้านแรงไว้ ขณะออกกำลังให้คออยู่ในท่าตรง ทำสลับกับทางด้านซ้าย


ขอบคุณ


sanook.com

No comments:

Post a Comment