รฟม.เตรียมรายงานบอร์ดทราบผลการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง-น้ำเงิน หวั่นโครงการล่าช้า ถูกเอกชนร้องค่าชดเชย เหตุติดปัญหาเวนคืน ระบุต้องแล้วเสร็จให้ได้ภายในมิถุนายนนี้ ด้านกลุ่มร่วมค้า “ซิโน-ไทย-ยูนิค” คว้าสัญญาที่ 1 รถไฟสีแดง “บางซื่อ-รังสิต” 3.4 หมื่นล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มี นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ รฟม.จะรายงานความคืบหน้า และขอคำแนะนำการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ หลังจากประสบปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินหลายจุด ที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้โครงการล่าช้า จนเป็นเหตุให้เอกชนหรือผู้รับจ้างเสียงร้องค่าชดเชยกับภาครัฐได้
สำหรับจุดที่มีปัญหา คือ สายสีม่วง ที่บริเวณสะพานพระนั่งเกล้า ซึ่งตามกำหนดแล้วจะต้องดำเนินการเวนคืนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ส่วนสายสีน้ำเงิน จุดที่มีปัญหาคือ จุดสร้างสถานีที่บริเวณวัดมังกรกมลาวาศ ซึ่งในเร็ว ๆ นี้จะนัดเจ้าของที่ดินคือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มูลนิธิจุมภฎ-พันธ์ทิพย์ หารือว่าจะดำเนินการอย่างไร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รฟม.ได้เข้าไปเจรจากับผู้อาศัยแล้ว แต่ถูกต่อต้าน ทั้งสายสีน้ำเงินและสีม่วง ก็ต้องพยายามจัดการเคลียร์ให้แล้วเสร็จ ส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับเหมาให้ได้ภายในเดือน มิ.ย.54 นี้ ไม่เช่นนั้นการก่อสร้างมีปัญหาแน่ นอกจากจะล่าช้ากว่าแผนแล้ว ยังทำให้ผู้รับจ้าสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการเรียกร้องค่าชดเชยจาก รฟม.ได้” แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่า 26% ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดใช้บริการในปี 2557 ส่วนสายสีน้ำเงิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมแผนโยกย้ายสาธารณูปโภค คาดว่าในเดือนกรกฎาคมนี้จะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าพื้นที่ได้
ทั้งนี้ รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้อนุมัติผลการคัดเลือกคุณสมบัติด้านเทคนิคของผู้รับเหมา 3 ราย ที่เข้าร่วมประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย…
1. บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
2. บมจ.ช.การช่าง
3. กิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
และเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ร.ฟ.ท.โดยคณะกรรมการเปิดซองราคา ซึ่งมีนายประจักษ์ มโนธัม รองผู้ว่าการฝ่ายการเดินรถ ร.ฟ.ท. เป็นประธาน ได้เปิดซองราคาก่อสร้างงานโยธาสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ปรากฏว่ากิจการร่วมค้า SU เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดคือ 34,650 ล้านบาท สูงกว่าราคากลาง 9.06% หรือประมาณ 2,878 ล้านบาท ส่วน บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาเป็นอันดับ 2 ที่ 34,999,250,409 บาท สูงกว่าราคากลางอยู่ 10.16% หรือประมาณ 3,227 ล้านบาท อันดับ 3 บมจ. ช.การช่าง เสนอ 35,500,674,046 บาท สูงกว่าราคากลาง 11.73% หรือประมาณ 3,877 ล้านบาท
สำหรับขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการประกวดราคาจะทำการตรวจสอบราคาในรายละเอียด จากนั้นนำเสนอให้บอร์ด ร.ฟ.ท.และไจก้าพิจารณาอนุมัติต่อไป จากนั้นจึงจะเปิดซองราคาสัญญาที่ 2 คาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 2-3 เดือน ส่วนสัญญาที่ 3 อยู่ระหว่างรอไจก้าพิจารณายกเลิกการประมูล หลังผู้รับเหมา 4 รายที่ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น
รฟม.เตรียมรายงานบอร์ดทราบผลการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง-น้ำเงิน หวั่นโครงการล่าช้า ถูกเอกชนร้องค่าชดเชย เหตุติดปัญหาเวนคืน ระบุต้องแล้วเสร็จให้ได้ภายในมิถุนายนนี้ ด้านกลุ่มร่วมค้า “ซิโน-ไทย-ยูนิค” คว้าสัญญาที่ 1 รถไฟสีแดง “บางซื่อ-รังสิต” 3.4 หมื่นล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มี นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ รฟม.จะรายงานความคืบหน้า และขอคำแนะนำการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ และโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ หลังจากประสบปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินหลายจุด ที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้โครงการล่าช้า จนเป็นเหตุให้เอกชนหรือผู้รับจ้างเสียงร้องค่าชดเชยกับภาครัฐได้
สำหรับจุดที่มีปัญหา คือ สายสีม่วง ที่บริเวณสะพานพระนั่งเกล้า ซึ่งตามกำหนดแล้วจะต้องดำเนินการเวนคืนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ส่วนสายสีน้ำเงิน จุดที่มีปัญหาคือ จุดสร้างสถานีที่บริเวณวัดมังกรกมลาวาศ ซึ่งในเร็ว ๆ นี้จะนัดเจ้าของที่ดินคือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มูลนิธิจุมภฎ-พันธ์ทิพย์ หารือว่าจะดำเนินการอย่างไร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รฟม.ได้เข้าไปเจรจากับผู้อาศัยแล้ว แต่ถูกต่อต้าน ทั้งสายสีน้ำเงินและสีม่วง ก็ต้องพยายามจัดการเคลียร์ให้แล้วเสร็จ ส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับเหมาให้ได้ภายในเดือน มิ.ย.54 นี้ ไม่เช่นนั้นการก่อสร้างมีปัญหาแน่ นอกจากจะล่าช้ากว่าแผนแล้ว ยังทำให้ผู้รับจ้าสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการเรียกร้องค่าชดเชยจาก รฟม.ได้” แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วกว่า 26% ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดใช้บริการในปี 2557 ส่วนสายสีน้ำเงิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมแผนโยกย้ายสาธารณูปโภค คาดว่าในเดือนกรกฎาคมนี้จะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าพื้นที่ได้
ทั้งนี้ รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้อนุมัติผลการคัดเลือกคุณสมบัติด้านเทคนิคของผู้รับเหมา 3 ราย ที่เข้าร่วมประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย…
1. บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
2. บมจ.ช.การช่าง
3. กิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
และเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ร.ฟ.ท.โดยคณะกรรมการเปิดซองราคา ซึ่งมีนายประจักษ์ มโนธัม รองผู้ว่าการฝ่ายการเดินรถ ร.ฟ.ท. เป็นประธาน ได้เปิดซองราคาก่อสร้างงานโยธาสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ปรากฏว่ากิจการร่วมค้า SU เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดคือ 34,650 ล้านบาท สูงกว่าราคากลาง 9.06% หรือประมาณ 2,878 ล้านบาท ส่วน บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาเป็นอันดับ 2 ที่ 34,999,250,409 บาท สูงกว่าราคากลางอยู่ 10.16% หรือประมาณ 3,227 ล้านบาท อันดับ 3 บมจ. ช.การช่าง เสนอ 35,500,674,046 บาท สูงกว่าราคากลาง 11.73% หรือประมาณ 3,877 ล้านบาท
สำหรับขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการประกวดราคาจะทำการตรวจสอบราคาในรายละเอียด จากนั้นนำเสนอให้บอร์ด ร.ฟ.ท.และไจก้าพิจารณาอนุมัติต่อไป จากนั้นจึงจะเปิดซองราคาสัญญาที่ 2 คาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 2-3 เดือน ส่วนสัญญาที่ 3 อยู่ระหว่างรอไจก้าพิจารณายกเลิกการประมูล หลังผู้รับเหมา 4 รายที่ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น
No comments:
Post a Comment