Hi quest ,  welcome  |  sign in  |  registered now  |  need help ?
Hi, guest ! welcome to BREAK NEWS ONLINE. | About Us | Contact | Register | Sign In

เฟซบุ๊กจัดระเบียบแฟนเพจ ห้ามทำ แคมเปญกดLike

Written By 092505589 on Monday, July 4, 2011 | 8:08 PM

[postlink]http://breaknewsonline.blogspot.com/2011/07/like.html[/postlink]

112942 300x225 เฟซบุ๊กจัดระเบียบแฟนเพจ ห้ามทำ แคมเปญกดLike


เฟซบุ๊ก จัดระเบียบแฟนเพจ ออกกฎห้ามทำแคมเปญให้กด like หรือ tag รูปภาพบน wall ระบุต้องทำเป็น แอปพลิเคชั่นเท่านั้น ใครฝ่าฝืนมีสิทธิ์โดน ปิดแอ็กเคานต์ เผยเหตุสินค้าแห่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางจัดแคมเปญกว่า 2 หมื่นเพจ สร้างปัญหาทราฟฟิก ขณะที่ “ดิจิทัลเอเยนซี่” เร่งปรับตัวรับกติกาใหม่ พร‰อมกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น


นางสาวปทิตตา ไทยเมืองทอง ผู้อำนวยการกลุ่มลูกค้าบริษัท ไอฮับมีเดีย จำกัด ตัวแทนขายโฆษณา ของเฟซบุ๊กในประเทศไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อ 11 พฤษภาคม 2554 เฟซบุ๊กได้ประกาศไกด์ไลน์ในการทำแคมเปญส่งเสริม การขายบนเฟซบุ๊กฉบับปรับปรุง สรุปใจ ความสำคัญคือการทำโปรโมชั่นใด ๆ บนเฟซบุ๊ก ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันหรือชิงโชคต้องทำผ่านแอปพลิเคชั่นเท่านั้น ห้ามใช้ฟังก์ชั่นใด ๆ ของเฟซบุ๊กมาทำกิจกรรม เช่น การเชิญชวนให้มากด like เป็นเครื่องมือโหวตชิงรางวัล


รวมถึงห้ามใช้คุณสมบัติใด ๆ บนเฟซบุ๊กมาเป็นกลไกในการลงทะเบียนร่วมกิจกรรม เช่น ไม่อนุญาตให้ถือเอาคนที่กด like หรือ check in ในสถานที่กำหนดคือคนที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือตั้งเงื่อนไขโดยการให้อัพโหลดรูป หรือไฟล์ VDO ขึ้น wall รวมทั้งไม่อนุญาตให้ประกาศผู้ชนะผ่านทางเฟซบุ๊กในรูปการส่ง messages, chat หรือการโพสต์ไว้บนหน้า profile หรือ page


นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมใด ๆ ต้องมีการแสดงความยินยอมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม และระบุให้ชัดว่ากิจกรรมนั้น ๆ ไม่ได้รับการสนับสนุน หรือเกี่ยวข้องใด ๆ กับเฟซบุ๊ก รวมทั้งต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะถูกส่งไปยังใคร


นางสาวปทิตตากล่าวว่า สาเหตุของการปรับปรุงครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้ใช้งานบนหน้าเฟซบุ๊กของไทยจะนิยมโพสต์รูปแล้วให้คนโหวต โดยการกด like มากที่สุด หรือการประกวดภาพวิดีโอต่าง ๆ แต่ฟีเจอร์และฟังก์ชั่นต่าง ๆ บนเฟซบุ๊กถือเป็นสินทรัพย์ของเฟซบุ๊ก จึงต้องการให้ผู้ที่ต้องการทำโปรโมชั่นพัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้นมาเอง


“เฟซบุ๊กต้องการเน้นว่าการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ เฟซบุ๊กไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย จึงอยากทำให้ทุกอย่างถูกต้อง”


ด้านภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวของเฟซบุ๊กโดยรวมแล้ว คือห้ามใช้เฟซบุ๊กเพื่อกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยตรงบนหน้า wall หากสินค้าหรือผู้ประกอบการใดต้องการทำโปรโมชั่น ต้องทำในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบน Facebook.com หรือการเปิด tab ใหม่ โดยตนคาดว่าสาเหตุที่เฟซบุ๊กต้องปรับปรุงระเบียบดังกล่าว เนื่องจากมีผู้นำเฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือในการทำตลาดจำนวนมาก และอาจเกิดกรณีที่เจ้าของแบรนด์ไม่ทำตามข้อตกลงและกล่าวโทษไปยังเฟซบุ๊กด้วย ทั้ง ๆ ที่เฟซบุ๊กไม่มีความเกี่ยวข้อง ทำให้เฟซบุ๊กต้องออกมาย้ำกฎเกณฑ์อีกครั้ง


โดยบทลงโทษ หากมีผู้ฝ่าฝืน คือการลบแอ็กเคานต์นั้น และหากผู้ใช้งานต้องการเรียกแอ็กเคานต์กลับคืน ต้องติดต่อผ่านทางเฟซบุ๊ก หรือเอเยนซี่ที่ดูแลเฟซบุ๊กในไทย คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือนในการกู้แอ็กเคานต์คืนมา


“ตอนนี้หน้าเพจที่ถูกแบนยังมีไม่มาก และยังมีคนทำผิดบ้าง ถูกบ้าง เพราะยังไม่รู้ถึงนโยบายดังกล่าว”


นายภาวุธกล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยประมาณ 10 ล้านราย ส่วนหน้าแฟนเพจที่มีการทำโปรโมชั่นหรือแคมเปญการตลาดมีประมาณ 2 หมื่นเพจ และมีอัตราการเติบโตประมาณเดือนละ 20% ส่วนหนึ่งเพราะการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ บนเฟซบุ๊กไม่มีค่าใช้จ่าย แต่เมื่อเฟซบุ๊กออกระเบียบดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบกับการทำมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ และทำให้บริษัทต่าง ๆ มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพื่อจ้างทำแอปพลิเคชั่น จากเดิมที่สามารถมีแคมเปญต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้


“ตอนนี้ทุกคนให้ความสนใจเกี่ยวกับนโยบายนี้ เพราะเฟซบุ๊กเป็นสื่อที่เข้าถึงคนได้จำนวนมาก ทุกคนจึงอยากทำให้ถูกวิธี เพราะถ้าโดนแบนไม่คุ้ม ซึ่งเมื่อกลางเดือนมิถุนายน ตลาดดอตคอมได้ร่วมกับมาร์เก็ตติ้งออนไลน์หลาย ๆ รายจัดเวทีแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของเฟซบุ๊ก เพื่อให้ข้อมูลและทำความเข้าใจร่วมกัน”


นายอรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะแดปเตอร์ ดิจิทัล จำกัด หนึ่งในผู้ให้บริการดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งรายใหญ่ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นการจัดระเบียบการทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายบนเฟซบุ๊ก เพราะที่ผ่านมามีผู้ประกอบการและแบรนด์ต่าง ๆ ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการทำโปรโมชั่นกันเป็นจำนวนมาก จนทำให้เป็นการรบกวนผู้ใช้เฟซบุ๊กเพราะบางครั้งก็มาในรูปแบบสแปม นอกจากนี้ยังทำให้ช่วงที่ผ่านมาระบบเครือข่ายของเฟซบุ๊กมีปัญหาล่ม เนื่องจากมีผู้เข้ามาเพื่อที่จะลุ้นรางวัลพร้อม ๆ กันจำนวนมาก


กฎใหม่ของเฟซบุ๊กก็ทำให้ดิจิทัลเอเยนซี่ รวมถึงผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่จะทำกิจกรรมบนเฟซบุ๊กต้องคิดมากขึ้น และมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการทำแอปพลิเคชั่น นอกจากนี้ การนำโลโก้ของเฟซบุ๊กไปใช้บนสื่อออฟไลน์ก็จะต้องขออนุญาตด้วย ซึ่งในแง่ของเอเยนซี่ก็ต้องปรับตัวเยอะเช่นกัน เพราะเงื่อนไขเยอะขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีการทำผิดกฎให้เห็นอยู่ บางส่วนไม่รู้ และบางส่วนก็ตีความระเบียบดังกล่าวแตกต่างกัน


“ช่วงที่ผ่านมา แบรนด์ใหญ่ ๆ ก็ชะงักในแง่ของการทำแคมเปญบนเฟซบุ๊กไปเช่นกัน เพราะต้องกลับมาปรับรูปแบบให้ถูกต้อง ซึ่งแบรนด์ใหญ่จะค่อนข้างระมัดระวัง เพราะถ้าแอ็กเคานต์ถูกแบนก็จะเสียหาย ในส่วนของอะแดปเตอร์ก็ต้องให้ทีมงานทำความเข้าใจกับเงื่อนไขใหม่ พร้อมกับปรับแก้รูปแบบการทำกิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามกติกาใหม่ อย่างตอนนี้ของเป๊ปซี่ก็มีการทำแคมเปญเป๊ปซี่มิวสิค ที่ให้คลิก like เลือกศิลปินที่ชอบ โดยลุ้นรับเสื้อยืด ก็จะทำเป็น tab เมื่อคลิกเข้าไป ก็จะลิงก์ไปที่เว็บไซต์ต่อ” นายอรรถวุฒิกล่าว


ขอบคุณ


teenee.com

112942 300x225 เฟซบุ๊กจัดระเบียบแฟนเพจ ห้ามทำ แคมเปญกดLike


เฟซบุ๊ก จัดระเบียบแฟนเพจ ออกกฎห้ามทำแคมเปญให้กด like หรือ tag รูปภาพบน wall ระบุต้องทำเป็น แอปพลิเคชั่นเท่านั้น ใครฝ่าฝืนมีสิทธิ์โดน ปิดแอ็กเคานต์ เผยเหตุสินค้าแห่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางจัดแคมเปญกว่า 2 หมื่นเพจ สร้างปัญหาทราฟฟิก ขณะที่ “ดิจิทัลเอเยนซี่” เร่งปรับตัวรับกติกาใหม่ พร‰อมกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น


นางสาวปทิตตา ไทยเมืองทอง ผู้อำนวยการกลุ่มลูกค้าบริษัท ไอฮับมีเดีย จำกัด ตัวแทนขายโฆษณา ของเฟซบุ๊กในประเทศไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อ 11 พฤษภาคม 2554 เฟซบุ๊กได้ประกาศไกด์ไลน์ในการทำแคมเปญส่งเสริม การขายบนเฟซบุ๊กฉบับปรับปรุง สรุปใจ ความสำคัญคือการทำโปรโมชั่นใด ๆ บนเฟซบุ๊ก ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันหรือชิงโชคต้องทำผ่านแอปพลิเคชั่นเท่านั้น ห้ามใช้ฟังก์ชั่นใด ๆ ของเฟซบุ๊กมาทำกิจกรรม เช่น การเชิญชวนให้มากด like เป็นเครื่องมือโหวตชิงรางวัล


รวมถึงห้ามใช้คุณสมบัติใด ๆ บนเฟซบุ๊กมาเป็นกลไกในการลงทะเบียนร่วมกิจกรรม เช่น ไม่อนุญาตให้ถือเอาคนที่กด like หรือ check in ในสถานที่กำหนดคือคนที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือตั้งเงื่อนไขโดยการให้อัพโหลดรูป หรือไฟล์ VDO ขึ้น wall รวมทั้งไม่อนุญาตให้ประกาศผู้ชนะผ่านทางเฟซบุ๊กในรูปการส่ง messages, chat หรือการโพสต์ไว้บนหน้า profile หรือ page


นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมใด ๆ ต้องมีการแสดงความยินยอมโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม และระบุให้ชัดว่ากิจกรรมนั้น ๆ ไม่ได้รับการสนับสนุน หรือเกี่ยวข้องใด ๆ กับเฟซบุ๊ก รวมทั้งต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะถูกส่งไปยังใคร


นางสาวปทิตตากล่าวว่า สาเหตุของการปรับปรุงครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้ใช้งานบนหน้าเฟซบุ๊กของไทยจะนิยมโพสต์รูปแล้วให้คนโหวต โดยการกด like มากที่สุด หรือการประกวดภาพวิดีโอต่าง ๆ แต่ฟีเจอร์และฟังก์ชั่นต่าง ๆ บนเฟซบุ๊กถือเป็นสินทรัพย์ของเฟซบุ๊ก จึงต้องการให้ผู้ที่ต้องการทำโปรโมชั่นพัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้นมาเอง


“เฟซบุ๊กต้องการเน้นว่าการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ เฟซบุ๊กไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย จึงอยากทำให้ทุกอย่างถูกต้อง”


ด้านภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวของเฟซบุ๊กโดยรวมแล้ว คือห้ามใช้เฟซบุ๊กเพื่อกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยตรงบนหน้า wall หากสินค้าหรือผู้ประกอบการใดต้องการทำโปรโมชั่น ต้องทำในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบน Facebook.com หรือการเปิด tab ใหม่ โดยตนคาดว่าสาเหตุที่เฟซบุ๊กต้องปรับปรุงระเบียบดังกล่าว เนื่องจากมีผู้นำเฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือในการทำตลาดจำนวนมาก และอาจเกิดกรณีที่เจ้าของแบรนด์ไม่ทำตามข้อตกลงและกล่าวโทษไปยังเฟซบุ๊กด้วย ทั้ง ๆ ที่เฟซบุ๊กไม่มีความเกี่ยวข้อง ทำให้เฟซบุ๊กต้องออกมาย้ำกฎเกณฑ์อีกครั้ง


โดยบทลงโทษ หากมีผู้ฝ่าฝืน คือการลบแอ็กเคานต์นั้น และหากผู้ใช้งานต้องการเรียกแอ็กเคานต์กลับคืน ต้องติดต่อผ่านทางเฟซบุ๊ก หรือเอเยนซี่ที่ดูแลเฟซบุ๊กในไทย คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือนในการกู้แอ็กเคานต์คืนมา


“ตอนนี้หน้าเพจที่ถูกแบนยังมีไม่มาก และยังมีคนทำผิดบ้าง ถูกบ้าง เพราะยังไม่รู้ถึงนโยบายดังกล่าว”


นายภาวุธกล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยประมาณ 10 ล้านราย ส่วนหน้าแฟนเพจที่มีการทำโปรโมชั่นหรือแคมเปญการตลาดมีประมาณ 2 หมื่นเพจ และมีอัตราการเติบโตประมาณเดือนละ 20% ส่วนหนึ่งเพราะการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ บนเฟซบุ๊กไม่มีค่าใช้จ่าย แต่เมื่อเฟซบุ๊กออกระเบียบดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบกับการทำมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ และทำให้บริษัทต่าง ๆ มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพื่อจ้างทำแอปพลิเคชั่น จากเดิมที่สามารถมีแคมเปญต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้


“ตอนนี้ทุกคนให้ความสนใจเกี่ยวกับนโยบายนี้ เพราะเฟซบุ๊กเป็นสื่อที่เข้าถึงคนได้จำนวนมาก ทุกคนจึงอยากทำให้ถูกวิธี เพราะถ้าโดนแบนไม่คุ้ม ซึ่งเมื่อกลางเดือนมิถุนายน ตลาดดอตคอมได้ร่วมกับมาร์เก็ตติ้งออนไลน์หลาย ๆ รายจัดเวทีแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของเฟซบุ๊ก เพื่อให้ข้อมูลและทำความเข้าใจร่วมกัน”


นายอรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะแดปเตอร์ ดิจิทัล จำกัด หนึ่งในผู้ให้บริการดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งรายใหญ่ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นการจัดระเบียบการทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายบนเฟซบุ๊ก เพราะที่ผ่านมามีผู้ประกอบการและแบรนด์ต่าง ๆ ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการทำโปรโมชั่นกันเป็นจำนวนมาก จนทำให้เป็นการรบกวนผู้ใช้เฟซบุ๊กเพราะบางครั้งก็มาในรูปแบบสแปม นอกจากนี้ยังทำให้ช่วงที่ผ่านมาระบบเครือข่ายของเฟซบุ๊กมีปัญหาล่ม เนื่องจากมีผู้เข้ามาเพื่อที่จะลุ้นรางวัลพร้อม ๆ กันจำนวนมาก


กฎใหม่ของเฟซบุ๊กก็ทำให้ดิจิทัลเอเยนซี่ รวมถึงผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่จะทำกิจกรรมบนเฟซบุ๊กต้องคิดมากขึ้น และมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการทำแอปพลิเคชั่น นอกจากนี้ การนำโลโก้ของเฟซบุ๊กไปใช้บนสื่อออฟไลน์ก็จะต้องขออนุญาตด้วย ซึ่งในแง่ของเอเยนซี่ก็ต้องปรับตัวเยอะเช่นกัน เพราะเงื่อนไขเยอะขึ้น ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีการทำผิดกฎให้เห็นอยู่ บางส่วนไม่รู้ และบางส่วนก็ตีความระเบียบดังกล่าวแตกต่างกัน


“ช่วงที่ผ่านมา แบรนด์ใหญ่ ๆ ก็ชะงักในแง่ของการทำแคมเปญบนเฟซบุ๊กไปเช่นกัน เพราะต้องกลับมาปรับรูปแบบให้ถูกต้อง ซึ่งแบรนด์ใหญ่จะค่อนข้างระมัดระวัง เพราะถ้าแอ็กเคานต์ถูกแบนก็จะเสียหาย ในส่วนของอะแดปเตอร์ก็ต้องให้ทีมงานทำความเข้าใจกับเงื่อนไขใหม่ พร้อมกับปรับแก้รูปแบบการทำกิจกรรมเพื่อให้เป็นไปตามกติกาใหม่ อย่างตอนนี้ของเป๊ปซี่ก็มีการทำแคมเปญเป๊ปซี่มิวสิค ที่ให้คลิก like เลือกศิลปินที่ชอบ โดยลุ้นรับเสื้อยืด ก็จะทำเป็น tab เมื่อคลิกเข้าไป ก็จะลิงก์ไปที่เว็บไซต์ต่อ” นายอรรถวุฒิกล่าว


ขอบคุณ


teenee.com

No comments:

Post a Comment