ใครเข้า Google วันนี้ คงจะได้เห็นดูเดิ้ลแปลกตากันอีกแล้ว วันนี้มาในภาพของถั่วลันเตาสีเขียว จัดเรียงเป็นตัวอักษร Google มองดูแล้วชวนฉงนสงสัยกันไม่น้อย แต่พอลากเม้าท์ไปดูเชื่อว่าหลายคนต้องร้องอ๋อ วันนี้เป็นวันครบรอบ 189 ปี เกรเกอร์ เมนเดล ผู้คิดค้นกฎของเมนเดล หรือกฎแห่งการสืบสายเลือดนั่นเอง กระปุกดอทคอมวันนี้เลยขอนำเรื่องราวของเมนเดลมาแบ่งปันหน่อย เชื่อว่ามีคนยังไม่รู้จักกันเยอะเลยล่ะ
เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล หรือที่เรียกกันว่า เกรเกอร์ เมนเดล เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรียและอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ด้านพันธุศาสตร์ เขาเติบโตมาในครอบครัวของชาวสวนชาวไร่ และจบการศึกษาจากคณะปรัชญา สาขาธรรมชาติวิทยาและการเกษตร และสนใจในเรื่องพันธุศาสตร์มาโดยตลอด แต่แล้วเมื่อปี 1843 เมื่อเขาอายุได้เพียง 21 ปี เขาก็เป็นนักบวชและใช้ชีวิตอยู่ในโบสถ์นับแต่นั้น จนกระทั่งปี 1851 เขาได้ไปศึกษาด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา และกลับมาเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์เมื่อปี 1853 และกลายเป็นบาทหลวงเมื่อปี 1867 ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่อยู่ในโบสถ์นั้น เขาก็ทดลองทางพันธุศาสตร์มาโดยตลอด โดยการนำถั่วหลาย ๆ พันธุ์มาผสมกันหลากหลายวิธี และใช้เวลาทดลองติดตามผลกว่า 7 ปี จนได้ข้อมูลมากพอแล้วส่งผลงานการผสมพันธุ์ถั่วนี้ให้แก่ที่ประชุม Natural History Society ในกรุงบรุนน์ และผลงานของเขาก็ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ทั่วยุโรปและอเมริกาในขณะนั้น โดยกฎของพันธุศาสตร์ที่มีการทดลองจากถั่วของเมนเดล มีรายละเอียดดังนี้
– พ่อกับแม่ที่มีลักษณะเด่นทั้งคู่ เมื่อมาผสมกัน จะได้ลูกเด่นทั้งหมด
– พ่อกับแม่ที่มีลักษณะด้อยทังคู่ เมื่อมาผสมกัน จะได้ลูกด้อยทั้งหมด
– พ่อกับแม่ที่คนหนึ่งมีลักษณะด้อย อีกคนหนึ่งมีลักษณะเด่น เมื่อมาผสมกันในรุ่นลูกจะออกมาเป็นเด่นทั้งหมด แต่ถ้าผสมกันในรุ่นหลานจะได้ เด่นแท้ ด้อยแท้ เด่นไม่แท้ ในลักษณะ 1-1-2 ส่วน
ตัวอย่าง ให้ถั่วต้นสูง (T) เป็นลักษณะเด่น และถั่วต้นเตี้ย (t) เป็นลักษณะด้อย
1) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นสูง (T) = ลูกสูงทั้งหมด (TT)
2) ถั่วต้นเตี้ย (t) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกเตี้ยทั้งหมด (tt)
3) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกสูงทั้งหมด (Tt)
4) เอาลูกที่ได้จากข้อ 3 มาผสมกัน
ลูกสูงทั้งหมด (Tt) + ลูกสูงทั้งหมด (Tt) = ลูกสูงแท้ (TT) 25% , ลูกเตี้ยแท้ (tt) 25% ,ลูกสูงไม่แท้ (Tt) 50%
5) เมื่อเอาเมล็ดถั่วสูงแท้ (TT) จากข้อ 4 ไปปลูกจะได้ลูกสูงหมด (TT) และเอาเมล็ดถั่วต้นเตี้ย (tt) ไปปลูก จะได้ลูกเตี้ยหมด (tt) เอาเมล็ดถั่วต้นสูงไม่แท้ (Tt) จะได้ถั่วชั้นลูกเหมือนกับข้อ 4
หลังจากนั้น ผลงานของเขาดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจและปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น จนเมื่อ ค.ศ.1900 หรือ 34 ปีให้หลัง ได้มีนักชีววิทยา 3 ท่าน ได้แก่ ฮูโก เดฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล คอเรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และได้ผลการทดลองสอดคล้องกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ จึงทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นกฎแห่งการสืบทอดสายเลือด ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี 1884 ขณะอายุได้ 61 ปี และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้
ขอบคุณ http://thiswomen.com/Variety/Google-189-id7924.aspx
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก nndb.com, google.com
ใครเข้า Google วันนี้ คงจะได้เห็นดูเดิ้ลแปลกตากันอีกแล้ว วันนี้มาในภาพของถั่วลันเตาสีเขียว จัดเรียงเป็นตัวอักษร Google มองดูแล้วชวนฉงนสงสัยกันไม่น้อย แต่พอลากเม้าท์ไปดูเชื่อว่าหลายคนต้องร้องอ๋อ วันนี้เป็นวันครบรอบ 189 ปี เกรเกอร์ เมนเดล ผู้คิดค้นกฎของเมนเดล หรือกฎแห่งการสืบสายเลือดนั่นเอง กระปุกดอทคอมวันนี้เลยขอนำเรื่องราวของเมนเดลมาแบ่งปันหน่อย เชื่อว่ามีคนยังไม่รู้จักกันเยอะเลยล่ะ
เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล หรือที่เรียกกันว่า เกรเกอร์ เมนเดล เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรียและอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ด้านพันธุศาสตร์ เขาเติบโตมาในครอบครัวของชาวสวนชาวไร่ และจบการศึกษาจากคณะปรัชญา สาขาธรรมชาติวิทยาและการเกษตร และสนใจในเรื่องพันธุศาสตร์มาโดยตลอด แต่แล้วเมื่อปี 1843 เมื่อเขาอายุได้เพียง 21 ปี เขาก็เป็นนักบวชและใช้ชีวิตอยู่ในโบสถ์นับแต่นั้น จนกระทั่งปี 1851 เขาได้ไปศึกษาด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา และกลับมาเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์เมื่อปี 1853 และกลายเป็นบาทหลวงเมื่อปี 1867 ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่อยู่ในโบสถ์นั้น เขาก็ทดลองทางพันธุศาสตร์มาโดยตลอด โดยการนำถั่วหลาย ๆ พันธุ์มาผสมกันหลากหลายวิธี และใช้เวลาทดลองติดตามผลกว่า 7 ปี จนได้ข้อมูลมากพอแล้วส่งผลงานการผสมพันธุ์ถั่วนี้ให้แก่ที่ประชุม Natural History Society ในกรุงบรุนน์ และผลงานของเขาก็ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ทั่วยุโรปและอเมริกาในขณะนั้น โดยกฎของพันธุศาสตร์ที่มีการทดลองจากถั่วของเมนเดล มีรายละเอียดดังนี้
– พ่อกับแม่ที่มีลักษณะเด่นทั้งคู่ เมื่อมาผสมกัน จะได้ลูกเด่นทั้งหมด
– พ่อกับแม่ที่มีลักษณะด้อยทังคู่ เมื่อมาผสมกัน จะได้ลูกด้อยทั้งหมด
– พ่อกับแม่ที่คนหนึ่งมีลักษณะด้อย อีกคนหนึ่งมีลักษณะเด่น เมื่อมาผสมกันในรุ่นลูกจะออกมาเป็นเด่นทั้งหมด แต่ถ้าผสมกันในรุ่นหลานจะได้ เด่นแท้ ด้อยแท้ เด่นไม่แท้ ในลักษณะ 1-1-2 ส่วน
ตัวอย่าง ให้ถั่วต้นสูง (T) เป็นลักษณะเด่น และถั่วต้นเตี้ย (t) เป็นลักษณะด้อย
1) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นสูง (T) = ลูกสูงทั้งหมด (TT)
2) ถั่วต้นเตี้ย (t) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกเตี้ยทั้งหมด (tt)
3) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกสูงทั้งหมด (Tt)
4) เอาลูกที่ได้จากข้อ 3 มาผสมกัน
ลูกสูงทั้งหมด (Tt) + ลูกสูงทั้งหมด (Tt) = ลูกสูงแท้ (TT) 25% , ลูกเตี้ยแท้ (tt) 25% ,ลูกสูงไม่แท้ (Tt) 50%
5) เมื่อเอาเมล็ดถั่วสูงแท้ (TT) จากข้อ 4 ไปปลูกจะได้ลูกสูงหมด (TT) และเอาเมล็ดถั่วต้นเตี้ย (tt) ไปปลูก จะได้ลูกเตี้ยหมด (tt) เอาเมล็ดถั่วต้นสูงไม่แท้ (Tt) จะได้ถั่วชั้นลูกเหมือนกับข้อ 4
หลังจากนั้น ผลงานของเขาดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจและปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น จนเมื่อ ค.ศ.1900 หรือ 34 ปีให้หลัง ได้มีนักชีววิทยา 3 ท่าน ได้แก่ ฮูโก เดฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล คอเรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และได้ผลการทดลองสอดคล้องกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ จึงทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นกฎแห่งการสืบทอดสายเลือด ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี 1884 ขณะอายุได้ 61 ปี และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้
ขอบคุณ http://thiswomen.com/Variety/Google-189-id7924.aspx
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก nndb.com, google.com
No comments:
Post a Comment